ย้อนกลับไปเมื่อปลายปี 2564 ที่ผู้เขียนถ่ายภาพร่องรอยเก็บไว้เป็นภาพแทนของคำพูดที่ประชาชนเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ จากรัฐบาลและได้มีโอกาสกลับมาถ่ายภาพอีกครั้งที่กรุงเทพฯ ในปีนี้ ก็ทิ้งห่างระยะเวลาไปประมาณนึง รู้สึกคาดไม่ถึงเหมือนกันที่มันยังมีร่องรอยที่ผู้เขียนจินตนาการไว้และต้องการนำเสนออยู่เต็มข้างทางที่เคยมีการประท้วง

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นมาตลอดหลังจากมีการชุมนุมทางการเมืองขนาดเล็กไปถึงใหญ่ จัดขึ้นอยู่รอบตัวผู้เขียนเอง ทั้งในตอนที่เป็นนักศึกษาอยู่เชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันที่ผู้เขียนเรียนจบแล้ว สีสเปรย์ที่พ่นบนกำแพง บนถนน ป้ายจราจร เขียนออกมาเป็นข้อความ ผู้เขียนมองว่ามันเป็นทางเลือกในการแสดงออกทางสัญลักษณ์รูปแบบหนึ่งที่ผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองมักใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแบบสันติวิธี นอกเหนือไปจากการเขียนบนป้ายประท้วงแบบที่เราคุ้นเคยกัน 

การเขียนข้อความเอาไว้ให้ใครก็ตามที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นอ่านและกระตุ้นความสนใจให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน รวมถึงเพื่อส่งสารไปถึงผู้มีอำนาจให้เขาเห็นปัญหาและลงมือแก้ไข ย่อมแปลว่าข้อความที่เขียนนั้นมันมีความหมายที่ต้องการให้ใครสักคนมองเห็น 

แต่ว่าตั้งแต่การประท้วงใหญ่เมื่อปี 2563 ล่วงเลยมาถึงปี 2566 ข้อความที่ประชาชนเขียนไว้ กลับถูกลบด้วยเหตุผลที่ว่าสร้างความไม่สะอาดเรียบร้อยแก่บ้านเมืองอยู่เสมอและมีการแจ้งจับด้วย มาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำลังเป็นที่ถกเถียงถึงความไม่ยุติธรรม เพราะว่าใครก็สามารถหยิบกฎหมายมาตรานี้มาฟ้องร้องฝ่ายที่เห็นต่างได้ ผู้เขียนเลยมีคำถามว่า หรือข้อความที่เขียนมันจะไม่มีความหมายนะ? แต่ว่ามันก็เป็นวิธีสื่อสารที่ปราศจากความรุนแรงที่ดีแล้วหรือเปล่า? ทำไมกันผู้ที่เขียนข้อความต้องห้ามเหล่านั้นถึงโดนจับและถูกกระทำความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำตามคำสั่งเจ้านายอยู่เสมอไป

การทำเหมือนข้อความที่เขียนนั้นไม่มีความหมายก็อาจแปลได้ว่าไม่มีใครต้องการรับรู้ถึงปัญหาหรือต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงปัญหาในข้อความนั้นก็เป็นได้ หรือว่าคนบางกลุ่มมองว่ามันสกปรก เลวร้าย อันตราย เกินกว่าเรื่องที่รัฐประมาทเลินเล่อใช้ความรุนแรงกับชีวิตประชาชนแบบนั้นหรือเปล่า? ถ้าอย่างนั้นมันก็มีความหมายแล้วน่ะสิ …การที่ใครก็ตามเขียนข้อความนั้นลงไป และมีคนอ่านจนเกิดความรู้สึกว่าไม่อาจยอมรับข้อความที่ว่านั้นได้…

ผู้เขียนเองในฐานะผู้สังเกตและบันทึกภาพ ได้ถ่ายภาพร่องรอยพวกนี้เอาไว้เพื่อย้ำเตือนถึงเหตุการณ์ว่ามันเคยเกิดอะไรขึ้นบนพื้นที่ที่เรากำลังเดินผ่านหรือขับรถสวนกันไปมา และอยากให้ตระหนักว่าชีวิตของมนุษย์นั้นมีคุณค่ามากกว่าจะให้ใครมาเหยียบย่ำ และไม่อยากให้เสียใจไปกับผนังที่เลอะข้อความเพราะสุดท้ายแล้วมันทำความสะอาดได้และถูกทำให้กลับมาฟื้นฟูเป็นปกติได้ ไม่เหมือนกับชีวิตที่ถูกทำให้หล่นหายไปแล้ว ยากที่จะกลับคืนมา

ถนนพิษณุโลก-แยกนางเลิ้ง ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนพิษณุโลก-แยกนางเลิ้ง ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนพิษณุโลก-แยกนางเลิ้ง ถ่ายเมื่อ ตุลาคม 2564

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนนครปฐม ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนพระรามที่ 5 ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนราชดำเนินกลาง-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนราชวิถี-แยกดินแดง ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนเพชรบุรี ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนประชาราษฎร์ สาย 1-แยกเกียกกาย ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนราชดำเนินกลาง-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนพระรามที่ 5 ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

แยกเกียกกาย ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

ถนนพิษณุโลก-แยกนางเลิ้ง ถ่ายเมื่อ ตุลาคม 2564

ถนนราชดำเนินใน หน้าศาลฎีกา ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2566

แยกปทุมวัน ถ่ายเมื่อ พฤศจิกายน 2564

Contributors

ช่างภาพฝึกหัด ชอบแมว ชอบสีเขียว ชอบเฝ้าดูและเก็บบันทึกความเป็นไปของโลกผ่านภาพถ่าย